ประวัติความเป็นมาของหน่วยงาน
คณะศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาเป็นคณะที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ
พ.ศ. 2547
โดยมีการพัฒนาจากอดีตสู่ปัจจุบันเป็นเวลากว่า
30 ปี เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2516
จนถึงปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 ช่วง
ดังนี้
ช่วงที่ 1
พ.ศ.2516-2542 ตั้งแต่เป็นภาควิชาศิลปะ
ดนตรีและนาฎศิลป์ สังกัด
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
วิทยาลัยครูสวนสุนันทา/สถาบันราชภัฏ
(ชื่อสถาบันในขณะนั้น)
ช่วงที่ 2
พ.ศ.2542-ปัจจุบัน
ตั้งแต่เริ่มโครงการจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์
จนถึงมีสถานภาพเป็นคณะศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ตามกฎกระทรวงในปัจจุบัน
ช่วงที่
1 พ.ศ.2516-2542
เริ่มจากการพัฒนาเป็นภาควิชาดังนี้
ภาควิชานาฏศิลป์ในอดีตรวมเป็นภาควิชาเดียวกันกับภาควิชาดนตรีใช้ชื่อว่า
ภาควิชาดนตรีและนาฏศิลป์ จนกระทั่งปี
พ.ศ.2516
ภาควิชานาฏศิลป์จึงได้รับอนุมัติจากกรมการฝึกหัดครูให้เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง
(ป.กศ.สูง) วิชาเอกนาฏศิลป์
ขึ้นเป็นแห่งแรกจากวิทยาลัยครูทั้งหมด 36
แห่ง ในขณะนั้น ปี พ.ศ.2519
ได้พัฒนาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตโดยเปิดสอนวิชาเอกนาฏศิลป์ในระดับปริญญาตรีขึ้นเป็นแห่งแรกของประเทศไทย
และในปี พ.ศ.2524
ได้พัฒนาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
วิชาเอกนาฏศิลป์และการละครขึ้นอีกสาขาหนึ่ง
ภาควิชาดนตรี
ในอดีตร่วมเป็นภาควิชาเดียวกันกับภาควิชานาฏศิลป์ใช้ชื่อว่า
ภาควิชาดนตรีและนาฏศิลป์
ได้เปิดสอนรายวิชาสังคีตนิยมเป็นวิชาพื้นฐานสำหรับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นต้น
(ป.กศ.ต้น) เรื่อยมา จนถึงปี พ.ศ.2520
ได้แยกตัวออกมาตั้งเป็นภาควิชาขึ้นเพื่อบริหารจัดการได้ตรงกับความต้องการของสาขาวิชาต่อมาในปี
พ.ศ.2527
ได้พัฒนาหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง
(ป.กศ.สูง) และหลักสูตร ครุศาสตรบัณฑิต
(ต่อเนื่อง 2 ปี) และในปี พ.ศ.2530
ภาควิชาดนตรีได้พัฒนาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต
(4 ปี)
วิชาเอกดนตรีศึกษาเพิ่มขึ้นอีกสาขาหนึ่ง
ภาควิชาศิลปะ
ได้เปิดสอนหลักสูตรศิลปศึกษาให้กับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นต้น
และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูงเพื่อผลิตครูศิลปะ
จนในปีพ.ศ.2520
ได้เพิ่มวิชาเอกด้านภาพพิมพ์ขึ้นพร้อมกับการพัฒนาหลักสูตรสายการออกแบบตามความต้องการของวิชาชีพ
และต่อมาในปี พ.ศ.2532
ภาควิชาศิลปะได้ปรับปรุงหลักสูตร
ศิลปศาสตรบัณฑิตขึ้นใหม่
ประกอบด้วยสาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์
และสาขาวิชาการออกแบบประยุกต์ศิลป์
แม้ว่าในปี
พ.ศ. 2538
ได้มีพระราชบัญญัติรวมวิทยาลัยครูทั่วประเทศเป็น
“สถาบันราชภัฏ” ภาควิชาศิลปะ
ภาควิชาดนตรี และภาควิชานาฏศิลป์
(รวมสาขาวิชานาฏศิลป์และการละคร)
ก็ยังคงสังกัดอยู่ในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เรื่อยมา
หากแต่ในปี พ.ศ.2542
ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารภายในจาก
“ภาควิชา” เป็น
“โปรแกรมวิชา” ได้แก่
โปรแกรมวิชาศิลปะ โปรแกรมวิชาดนตรี
โปรแกรมวิชานาฏศิลป์
และโปรแกรมวิชานาฏศิลป์และการละคร ช่วงที่
2 พ.ศ.2542-
ปัจจุบัน
รองศาสตราจารย์ ดร.ดิลก บุญเรืองรอด
อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาใน
สมัยนั้นมีความคิดที่จะรวมความโดดเด่นทางด้านศิลปะ
ดนตรี นาฏศิลป์ และการละคร
ที่มีอยู่ในรั้วสวนสุนันทา
และพัฒนาให้เข้มแข็ง
เพื่อเป็นผู้นำทางด้านศิลปกรรมศาสตร์แห่งหนึ่งของประเทศจึงได้ริเริ่มโครงการจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ขึ้น
ในปี พ.ศ. 2542
โดยแยกกลุ่มวิชาศิลปะทั้งหมดออกมาจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ต่อมาได้แบ่งการบริหารทางวิชาการออกเป็น 3
โปรแกรมวิชาประกอบด้วยโปรแกรมวิชาศิลปะโปรแกรมวิชาดนตรี
และโปรแกรมวิชานาฏศิลป์
(โดยรวมกับกลุ่มวิชานาฏศิลป์และการละคร)
พร้อมทั้งแต่งตั้ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษดา กรุดทอง รองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษในสมัยนั้น
รักษาการในตำแหน่งคณบดี
ในปี
พ.ศ.2543
รองศาสตราจารย์ผดุง ศิริรัตน์(ขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์)
ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ได้วางแผนและนโยบายเพื่อการจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ให้เป็นรูปธรรม
โดยได้รับความร่วมมือจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ สุทธิ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มาโนช กงกะนันท์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์มานิตย์ ภู่อารีย์
ร่วมกันสนับสนุนและพัฒนาหลักสูตรใหม่ทางด้านศิลปกรรมศาสตร์
จำนวน 4 สาขาวิชาในเบื้องต้น คือ
สาขาวิชาการออกแบบเครื่องแต่งกาย
สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์
สาขาวิชาการออกแบบหัตถศิลป์และสาขาวิชาจิตรกรรม
โดยมอบหมายให้รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
รองศาสตราจารย์จารุพรรณ ทรัพย์ปรุง
(ขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์)
เป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนาหลักสูตรใหม่ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาเปิดสอนในปี
พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา
โดยได้รับปริญญาบัตรทางด้านศิลปกรรมศาสตรบัณฑิตขึ้นเป็นครั้งแรกของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
การจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์สามารถสำเร็จลุล่วงไปได้อย่างดียิ่ง
โดยได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมอย่างดียิ่งจากอดีตอธิการบดีและรองอธิการบดี
รวมทั้งบุคคลต่างๆ อีกหลายท่าน เช่น
อธิการกลาย กระจายวงศ์ อธิการบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรางศรี พานิชยกุล อธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร.ดิลก บุญเรืองรอด รองอธิการบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวิทย์ จินดาพลรองอธิการบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วินิจ เทือกทอง ฯลฯ
จากการดำเนินการมาโดยตลอดนั้น วันที่ 1
มีนาคม พ.ศ. 2548
ได้มีการประกาศจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ในราชกิจจานุเบกษาเป็นที่เรียบร้อย
คณะศิลปกรรมศาสตร์จึงได้ถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
และเป็นคณะเดียวในมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง
41 แห่งทั่วประเทศ
ได้รับแต่งตั้งจากสภามหาวิทยาลัย
ในปี พ.ศ.2548
– 2552
ศาสตราจารย์ ดร.ชมนาด กิจขันธ์
ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์
ในปี พ.ศ.
2552 - 2560 รองศาสตราจารย์
ดร.จารุพรรณ ทรัพย์ปรุง
ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์
ในปี พ.ศ.
2560-2564 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุติมา
มณีวัฒนา
ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์
ในปี พ.ศ.
2564-ปัจจุบัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร.เอกพงศ์ อินเกื้อ
ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์
ในด้านอาคารเรียนคณะศิลปกรรมศาสตร์ อาคาร
58 เป็นอาคารเรียนขนาด 5
ชั้นใช้งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 130
ล้านบาท ซึ่งทำการก่อสร้างในสมัยอธิการบดี
รองศาสตราจารย์ ดร.ดิลก บุญเรืองรอด
และเสร็จสิ้นในสมัยรองศาสตราจารย์ ดร.ช่วงโชติ พันธุเวช
ในปี พ.ศ. 2552
จึงมีอาคารคณะศิลปกรรมศาสตร์ตั้งอยู่ในภูมิทัศน์ที่เด่นเป็นสง่าติดกำแพงแดง
ด้านถนนราชวิถี
มีห้องปฏิบัติทางวิชาชีพด้านศิลปะ ดนตรี
นาฏศิลป์และการละคร
นอกจากนี้ยังมีอาคารโบราณ จำนวน 3หลัง
ได้แก่ อาคาร 45 (อาคารจุฑารัตนาภรณ์)
อาคาร 46 (อาคารอาทรทิพย์นิวาส)และอาคาร
51(อาคารเอื้อนอาชว์แถมถวัลย์) ทั้ง 3
อาคารกำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุง
เพื่อเตรียมการจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ดนตรี
พิพิธภัณฑ์ศิลปะ
พิพิธภัณฑ์นาฏศิลป์และการละคร ตามลำดับ
เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา
และประชาชนผู้สนใจทั่วไป
ได้ศึกษาหาความรู้ด้านศิลปกรรมศาสตร์
ด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและด้านศิลปวัฒนธรรมรัตนโกสินทร์
หลักสูตรคณะศิลปกรรมศาสตร์
ที่เปิดสอน
คณะศิลปกรรมศาสตร์
ได้จัดการศึกษาและให้การบริการวิชาการด้านศิลปะ
ดนตรี นาฏศิลป์และการละคร
โดยปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรตามความต้องการของสังคม
โดยมีหลักสูตรระดับปริญญาบัณฑิต
ปริญญามหาบัณฑิต และปริญญาดุษฎีบัณฑิต
ดังนี้ 1. หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต มี 6 หลักสูตร
1.1
สาขาวิชาศิลปะการแสดง
-
แขนงวิชานาฏศิลป์ไทย
-
แขนงศิลปะการละครและความเป็นผู้ประกอบการสร้างสรรค์
1.2
สาขาวิชาจิตรกรรม
1.3
สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์
1.4
สาขาวิชาการออกแบบแฟชั่นและสินค้าไลฟ์สไตล์
-
แขนงวิชาการออกแบบสินค้าไลฟ์สไตล์
-
แขนงวิชาการออกแบบแฟชั่น
1.5 สาขาวิชาวิชาดนตรี
(ดนตรีสากล/ดนตรีไทย) 2. หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มี 1 หลักสูตร
2.1
สาขาวิชาศิลปะการแสดง
-
แขนงวิชานาฏศิลป์ไทย
-
แขนงวิชาศิลปะการละคร 3. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มี 2 หลักสูตร
3.1
สาขาวิชาศิลปะการแสดง
3.2.
สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ เพจคณะศิลปกรรมศาสตร์
: https://www.facebook.com/FARSSRUfanpage/ เว็บไซต์คณะศิลปกรรมศาสตร์
: https://far.ssru.ac.th/en เว็บไซต์มหาวิทยาลัย
: https://ssru.ac.th/home